Resveratrol : เรสเวอราทรอล

  • Post author:
You are currently viewing Resveratrol : เรสเวอราทรอล

Resveratrol (เรสเวอราทรอล)

     Resveratrol สารสำคัญกลุ่ม Polyphenol พบมากในองุ่นแดง หรือไวน์แดง

ประโยชน์ของ Resveratrol

  • ช่วยในเรื่องของการชะลอความชรา (Antiaging)
  • ทำหน้าที่เสมือนสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) กำจัดสารอนุมูลอิสระและสารพิษต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เซลล์มีสุขภาพดีขึ้นและยังช่วยดูแลสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยต่อสู้กับความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และสนับสนุนการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย
  • ช่วยบำรุงการทำงานของเส้นประสาทสัมผัสในสมอง
  • รักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วย
  • ลดระดับความดันโลหิต
  • บำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ
  • ลดการเจริญของโรคทางสมอง เช่น โรค Alzheimer

ผลจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารของฟินแลนด์ เมื่อปี 2007 ระบุว่า การดื่มไวน์วันละแก้วจะทำให้ร่างกายได้รับสารเรสเวอราทรอล ช่วยชะลอวัย ห่างไกลความแก่อย่างเห็นผลชัดเจน ชาวยุโรปทราบความลับข้อนี้ดี จึงนิยมดื่มไวน์วันละแก้วเป็นประจำ 

นอกจากนี้ ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และมหาวิทยาลัยวียู อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังพบว่า การดื่มไวน์จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยสารเรสเวอราทรอลสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือด โดยเพิ่มระดับของ HDL หรือคอเลสเทอรอลแบบดีให้สูงขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เลือดเกาะกันเป็นก้อน การดื่มไวน์เพียงวันละหนึ่งแก้วจึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจและช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมแถมยังป้องกันโรคเบาหวานด้วย

พบการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ไวน์แดงมีสาร Resveratrol (ที่พบในผิวและเมล็ดองุ่น) ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด โดยการไปเพิ่ม HDL (“ดี” คอเลสเตอรอล) และเป็นการป้องกันไม่ให้เลือดเกาะกันเป็นก้อน เพราะฉะนั้นการดื่มไวน์แดง 1-2 แก้ว จะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจได้ถึง 30-40%

ผลการศึกษาจากอาสาสมัคร 4,000 คน เป็นเวลา 1 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง พบว่าผู้ดื่มไวน์มากกว่าวันละ 2 แก้ว จะเป็นหวัดน้อยกว่าผู้ไม่ดื่มไวน์ถึง 44% ส่วนการดื่มไวน์แดงวันละ 1 แก้ว จะช่วยป้องกันหวัดได้เหมือนกัน นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่าไวน์แดงช่วยลดความจำเสื่อม บำรุงสมองส่วนความจำได้ โดยสาร resveratrol ในไวน์แดง มีผลในการป้องกันการเสื่อมของสมองในหนูทดลอง แต่ไม่ได้ทำการทดสอบในมนุษย์

Reference : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28449